Got My Cursor @ 123Cursors.com
EKG Amplifier Circuit: การประกอบวงจรของจริง

Sunday, August 19, 2007

การประกอบวงจรของจริง

ในสัปดาห์ที่ 3 นี้ เราเริ่มการประกอบวงจรของจริงกันที่ ห้องโปรเจค ที่ตึกวิจัย หลังจากสแกนลายนิ้วมือขึ้นตึกไปจนได้ (กว่าจะสแกนผ่าน - -") เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อย เราตั้งใจกันว่าจะเริ่มต้นด้วย original EKG circuit (ลงไปหาอ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อล่างๆครับ) แต่ปัญหาที่เราพบ ปัญหาแรกเลยก็คือ instrument amplifier ที่เรามี กับในวงจร มันคนละเบอร์กันอันนี้เรารู้มาแต่แรก แต่ที่เราไม่ได้สังเกตเลย ก็คือ ขาของออฟแอมที่เรามี มันมีแค่ 8 ขา หากแต่ในรูปมันมี 16 ขา เพียงปัญหาแค่นี้ ก็ทำให้กลุ่มผมหยุดชะงักแล้วครับ (อภัยในความโง่เขลาพวกเราด้วย) เราจึงต้องทำการออกแบบ กันเอง เพื่อให้สามารถนำ AD623 ที่เรามีมาใช้ในวงจรนี้ให้ได้ โดยอาศัย data sheet ที่พอหาได้ ก็เป็นอย่างที่เห็นครับ

หลังจากตกลงกันเรียบร้อย และตรวจสอบอีกครั้ง ว่ามันจะไม่ลัดวงจร เราก็เริ่มทำการประกอบวงจรลง breadboard ทันที ถึงแม้จะมี R ขนาดไม่ตรงกัน เราก็ใช้การอนุกรมกันบ้าง ขนานกันบ้าง เอาค่าใกล้เคียงบ้าง ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ ทั้งหมดนี้คือภาพบรรยากาศในการทำงานภายในห้องโปรเจค





พวกเราทำการต่อวงจรกันด้วยความหวาดหวั่น เอ๊ย! ความมั่นใจ ว่ามันจะต้องสำเร็จ ปรับค่าไฟเลี้ยงไว้ที่ 6V เรียบร้อย (เนื่องจาก AD623 ทนไฟเลี้ยงได้แค่ 6V ผิดกับ AD624AD ที่ทนไฟเลี้ยงได้ถึง 9V) เกี่ยวขาวัดของ ossilloscope ไว้ที่ Vout เรียบร้อย ทุกอย่างพร้อมสำหรับการวัด



ติดตั้งตัวนำสัญญาณไฟฟ้า ไว้ตามจุดต่างๆของร่างกายดังภาพ



สร้างความสนุกสนานได้พอสมควร สำหรับการติดตั้งจริงๆ


เมื่อทุกอย่างพร้อมสำหรับการวัด เราก็ไม่รอช้า และนี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากการที่เราพยายามอยู่พักใหญ่



(- -") นี่เราตายแล้วเหรอเนี่ย ^^" ไม่ใช่ครับ มันเป็นเพราะว่า มันไม่สำเร็จ!!! วงจรนี้ไม่เวิร์คสำหรับการทำจริงๆ หรือเป็นเพราะเราใช้ instrument amplifier คนละเบอร์กัน หรือเป็นที่ตัวนำสัญญาณไฟฟ้าอาจชำรุด หรือว่าเราจะตายแล้วจริงๆ? พวกเราเก็บคำถาม และปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆนี้ไว้ เราจะกลับมาใหม่อีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวที่ดีกว่านี้ คิดถึงปัญหาที่จะเกิดให้มากกว่านี้ ทดสอบวงจรด้วยสัญญาณอินพุทขนาดเล็กเพื่อทดสอบวงจรก่อนวัดจริงเสมอ


แล้วเราจะกลับมา / EKGlism team

No comments: