หลังจากตกลงกันเรียบร้อย และตรวจสอบอีกครั้ง ว่ามันจะไม่ลัดวงจร เราก็เริ่มทำการประกอบวงจรลง breadboard ทันที ถึงแม้จะมี R ขนาดไม่ตรงกัน เราก็ใช้การอนุกรมกันบ้าง ขนานกันบ้าง เอาค่าใกล้เคียงบ้าง ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ ทั้งหมดนี้คือภาพบรรยากาศในการทำงานภายในห้องโปรเจค
พวกเราทำการต่อวงจรกันด้วยความหวาดหวั่น เอ๊ย! ความมั่นใจ ว่ามันจะต้องสำเร็จ ปรับค่าไฟเลี้ยงไว้ที่ 6V เรียบร้อย (เนื่องจาก AD623 ทนไฟเลี้ยงได้แค่ 6V ผิดกับ AD624AD ที่ทนไฟเลี้ยงได้ถึง 9V) เกี่ยวขาวัดของ ossilloscope ไว้ที่ Vout เรียบร้อย ทุกอย่างพร้อมสำหรับการวัด
ติดตั้งตัวนำสัญญาณไฟฟ้า ไว้ตามจุดต่างๆของร่างกายดังภาพ
สร้างความสนุกสนานได้พอสมควร สำหรับการติดตั้งจริงๆ
เมื่อทุกอย่างพร้อมสำหรับการวัด เราก็ไม่รอช้า และนี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากการที่เราพยายามอยู่พักใหญ่
(- -") นี่เราตายแล้วเหรอเนี่ย ^^" ไม่ใช่ครับ มันเป็นเพราะว่า มันไม่สำเร็จ!!! วงจรนี้ไม่เวิร์คสำหรับการทำจริงๆ หรือเป็นเพราะเราใช้ instrument amplifier คนละเบอร์กัน หรือเป็นที่ตัวนำสัญญาณไฟฟ้าอาจชำรุด หรือว่าเราจะตายแล้วจริงๆ? พวกเราเก็บคำถาม และปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆนี้ไว้ เราจะกลับมาใหม่อีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวที่ดีกว่านี้ คิดถึงปัญหาที่จะเกิดให้มากกว่านี้ ทดสอบวงจรด้วยสัญญาณอินพุทขนาดเล็กเพื่อทดสอบวงจรก่อนวัดจริงเสมอ
แล้วเราจะกลับมา / EKGlism team
No comments:
Post a Comment